เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ยิ่งมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต . . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[507] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วให้ 1 ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงให้ทำ
เป็นเดนแล้วจึงฉันเถิด 1 ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงนำไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ
อื่น 1 ภิกษุให้อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุให้ด้วยบอกว่า ในเมื่อ
มีเหตุสมควรจงฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก 1 ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ 6


ในสิกขาบทที่ 6 มีวินิจฉัยดังนี้ :-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ 2 รูป]


สองบทว่า อนาจารํ อาจรติ ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ.
บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่า
ได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้น
บ่อย ๆ.
สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น.
สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณา
อย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ ! เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระ-

อุบาลีเถระไม่ทรงยกคำว่า หนฺท ภิกฺขุ เป็นต้นขึ้น เพื่อแสดงอรรถแห่งการ
นำไปปวารณาที่ทั่วไปอย่างเดียว จึงได้กล่าวว่า นิมนต์รับของเท่าที่ท่านต้องการ.
บทว่า ชานํ คือ รู้อยู่ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ห้ามภัตแล้ว. ก็เพราะการรู้
นั้นของภิกษุนั้น ย่อมมีโดยอาการ 3 อย่าง; ฉะนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว
บทภาชนะโดยนัยเป็นต้นว่า ชานาติ นาม สามํ วา ชานาติ ดังนี้.
บทว่า อาสาทนาเปกฺโข ได้แก่ เพ่งการรุกราน คือ การโจทท้วง
ได้แก่ ภาวะที่ทำให้เป็นผู้อัปยศ.
คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ.
ผู้ที่ตนน้อมถวายภัตรับเอา เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้น้อมถวาย. ส่วนความต่างแห่ง
อาบัติทุกอย่างของภิกษุผู้รับนอกนี้ กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท. แต่ใน
สิกขาบทนี้ พระวินัยธรพึงปรับอาบัติทั้งหมดแก่ภิกษุผู้น้อมถวายภัตเท่านั้น.
บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ 6 จบ

โภชนวรรค สิกขาบทที่ 7


เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์


[508] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดู
มหรสพบนยอดเขา ประชาชนเห็นพระสัตตรสวัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้
ลูบไล้ของหอม ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย พระสัตตรสวัคคีย์
นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย
นิมนต์รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด.
พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน.
พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.
ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉัน อาหาร เวลาวิกาลหรือ.
ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์
จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้ว แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระ-
สัตตรสวัคดีย์จึงได้ฉัน อาหารในเวลาวิกาลเล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอฉันอาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ.